วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Letter of Credit

Letters of Credit
Letters of credit are a means of payment between an exporter and importer via their banks. A letter of credit is a document issued by the buyer’s bank guaranteeing payment once all the conditions stated in the letter have been met.
Essentially, the process is that the buyer requests its bank to open a letter of credit in favour of the exporter. The exporter then asks its bank to confirm the letter of credit. The exporter is able to receive the payment specified on the letter of credit by presenting its bank with the set of documents required by the letter of credit (generally shipping and delivery documentation).
The NZECO’s financing guarantee covers the exporter’s bank’s subsequent credit risk that the buyer's bank will not be able to repay this amount the bank has already disbursed to the exporter.

เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

        เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต
        การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น

การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)

        การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ
  • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
  • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม

 การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า

        หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
                ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที
        ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว
        หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

 การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit)

        เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคาร ธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้า ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต นอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต
หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีดังนี้ คือ
        1.สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นที่เป็นเหตุให้มีการทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นดังกล่าว แม้จะมีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าวนั้นในเครดิตก็ตาม ดังนั้นการเข้ารับภาระของธนาคารผู้เปิดเครดิตในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิตที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตามธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต
        2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอ เพื่อให้มีการชำระเงินรับรอง หรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต
        3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือ กรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิต อาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ
        1. เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง
                1.1ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงินก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต
                1.2 ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต
        2. เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า มีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมาย หรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป
        3. เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคารผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคารผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ ทั้งหนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆ และได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว
        4. เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต) เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น